วัฒนธรรมจีนที่ศาลหลักเมืองในภาคตะวันออก
Eastern Studies
บทคัดย่อ
การศึกษาวัฒนธรรมจีนในศาลหลักเมืองภาคตะวันออก 8 จังหวัด คือ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ตราด นครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว ศึกษาวัฒนธรรมจีน ที่ศาลหลักเมืองด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ภาษาและวรรณกรรม ผล การศึกษาพบว่าสถาปัตยกรรมที่ศาลหลักเมืองมี 4 ประเภทคือ ประเภทแรก สถาปัตยกรรมไทยพื้นบ้านพบที่ศาลหลักเมืองชลบุรีไม่มีเสาหลักเมือง ที่ชลบุรีพบ ศาลหลักเมืองที่บางพระอีกแห่งหนึ่งเป็นสถาปัตยกรรมจีนไม่มีเสาหลักเมืองเช่นเดียวกัน ประเภทที่ 2 สถาปัตยกรรมไทยพบที่สระแก้ว ปราจีนบุรี และนครยายกมีเสาหลักเมือง ประเภทที่ 3 สถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมจีนพบที่ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และ ระยองมีเสาหลักเมือง ประเภทที่ 4 สถาปัตยกรรมจีนพบที่ตราดมีเสาหลักเมืองและศิว ลึงค์ ประติมากรรมจีนที่ศาลหลักเมืองพบที่ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทราและนครนายก จิตรกรรมจีนเป็นจิตรกรรมเกี่ยวกับความเชื่อพื้นบ้านแบบจีน ความเชื่อศาสนาพุทธนิกาย มหายานและศาสนาเต๋า ภาษาและวรรณกรรมเป็นแบบจีนพบที่ศาลหลักเมืองทุกจังหวัด
Abstract
The study of the Chinese Culture at the city pillar shrine in Eastern area aims to study the architecture, the sculpture, the painting and the language and literature. The results are following: there are 4 type of architectures ,the first type are Thai traditional architecture at city pillar shrine with no column in Chon Buri and Chinese architecture in Bangpra , the second are Thai architecture in Sa Kaeo , Prachin Buri and Nakhon Nayok with the columns, the third types are Thai architecture and Chinese architecture in Chachoengsao, Chanthaburi and Rayong, the forth type is 2 Chinese architecture in Trat. The Chinese Sculptures are in the city pillar shrine at Trat, Chanthaburi , Chachoengsao ,Nakhon Nayok and Rayong. The Chinese paintings are about Chinese folklore , Mahayana-Buddhism and Taoism. The Chinese language and literatures are literatures in Chinese Tradition.